คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีหลังจากนี้ เป็น วันผ้าไทยแห่งชาติ – National Thai Textile Day (30 พ.ค. 2565) ณ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันนี้ ได้มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีนั้น เป็น วันผ้าไทยแห่งชาติ – National Thai Textile Day เพื่อรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ที่พระองค์ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานผ้าไทย
ให้เป็นที่ประจักษ์มายาวนาน จากสิ่งทอท้องถิ่นที่สูญหายไปให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สามารถสร้างอาชีพ – สร้างรายได้ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
โดยวันผ้าไทยแห่งชาติ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า National Thai Textile Day โดยได้นิยาม “ผ้าไทย”คือ ผ้าที่สร้างสรรค์ขึ้นจากมรดกภูมิปัญญาของไทยที่ได้รับการสืบทอดต่อยอดจากรุ่นสู่รุ่น บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ประจำถิ่นที่ผลิตขึ้นภายในประเทศโดยฝีมือคนไทย โดยใช้เทคนิค เช่น การทอ จก ยก ขิด ล้วง ปัก มัดหมี่ มัดย้อม บาติก พิมพ์ โดยใช้เส้นใยธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น ไหม ฝ้าย ใยกัญชง ใยสับปะรด ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นเป็นต้น
ทั้งนี้แล้ววันผ้าแห่งชาติในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย (2 ต.ค. วันบาติกแห่งชาติ) ญี่ปุ่น (14 ก.พ. วันฟุนโดชิ (วันผ้าเตี่ยว))
กกต. เผยยัง ไม่รับรองชัชชาติ เป็นผู้ว่า กทม. คนที่ 17 ในวันนี้ ชี้ไม่ได้อยู่ในวาระการประชุม ขณะที่ประตูสำนักงานเปลี่ยนชื่อแล้ว สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ กรรมการการเลือกตั้งได้เปิดเผยกับสำนักข่าวคมชัดลึกว่า ตนได้รับแจ้งจากที่ประชุมคณะกรรมการเลือกตั้งว่าวันนี้ กกต ไม่รับรองชัชชาติ เนื่องจากไม่มีวาระการประชุม หลังจากที่มีรายงานก่อนหน้านี้ว่าทาง กกต. จะรองรับให้นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่า กทม. คนที่ 17 เข้ารับตำแหน่งในวันนี้ เวลา 13.00 น.
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้ทำการเปลี่ยนป้ายชื่อ ผู้ว่าฯ กทม. ตรงบริเวณประตูทางเข้า จากจากพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง มาเป็น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แล้ว
ขณะเดียวกันมีประชาชนจำนวนมากโทรเข้าหาสายด่วน 1444 ซึ่งเป็นสายด่วนที่ว่าด้วยเรื่องการเลือกตั้ง เพื่อสอบถามทาง กกต. ว่าเพราะเหตุใดจึงใช้เวลาพิจารณานาน และจะมีผลแจ้งออกมาเป็นทางการหรือไม่ ทั้งนี้ นาย ชัชชาติ ถูกร้องเรียนในสองประเด็นได้แก่
1.ป้ายหาเสียง ของ นายชัชชาติ ที่จัดทำเป็นผ้าไวนิล ที่มีเจตนาแฝงเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สามารถนำไปรีไซเคิลทำกระเป๋า – ผ้ากันเปื้อน โดยเป็นการเข้าข่ายการกระทำการเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเอง ด้วยวิธีการจัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อันใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้หรือไม่
2.การร้องเรียนเกี่ยวกับระบบราชการ ซึ่งเป็นการแจ้งผ่านหน่วยงานอื่นไม่ใช่ กกต. โดยตรง ซึ่งผู้ร้องอ้างว่านายชัชชาติ ระบุเนื้อหาทำนองว่าระบบราชการ อาจจะส่งผลต่ออุปสรรคการปฏิบัติงาน เพราะมีขั้นตอนเยอะ ซึ่งการระบุเช่นนี้ ผู้ร้องอ้างว่า เปรียบเสมือนเป็นการดูถูกระบบราชการ
อย่างไรก็ตามในสัปดาห์นี้ กกต.ยังมีนัดกับการประชุมอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (31 พ.ค.) เวลา 13.30 น.
อ.จุฬาฯ ชี้ ร้องเรียนเลือกตั้งผู้ว่ากทม เรื่อยเปื่อย ระวังเจอคุก
อ.จุฬาเตือน ร้องเรียนเลือกตั้งผู้ว่ากทม เรื่อยเปื่อย ระวังเจอคุกโทษ 5-10 พร้อมปรับเงิน ข้อหากลั่นแกล้งเพื่อไม่ให้ประกาศผลเลือกตั้ง รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกโพสต์ข้อความเฟซบุ๊กฝากข้อความถึงบุคคลที่ชอบร้องเรียนเลือกตั้งผู้ว่ากทม ต้องมารับผิดชอบข้อฟ้องร้องด้วยตนเอง และระบุว่าหากพบว่ามีการกลั่นแกล้งมีโทษคุกด้วย
โดยข้อความเฟซบุ๊กถึงประเด็นการฟ้องร้องเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพระบุว่า “คนร้องเรียนว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต เที่ยงธรรม หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องรับผิดชอบข้อฟ้องร้องของตนเองด้วย กฎหมายไม่ได้ปล่อยให้ร้องได้เรื่อยเปื่อย
หากพบว่าเป็นการกลั่นแกล้ง เพื่อไม่ให้มีการประกาศผลเลือกต้ัง มีโทษจำคุก 5-10 ปี ปรับ 1-2 แสน และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น 20 ปี
(มาตรา 118 วรรค 2 พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2562)”
นอกจากนี้ สิริพรรณ ยังได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงระยะเวลาการรับรองของ กกต. ที่ใช้เวลาถึง 30 วันในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. นั้นเป็นเรื่องไม่จำเป็นและควรแก้ไขกฎหมายที่วางกรอบไว้นานขนาดนี้ พร้อมแนะว่า หากไม่พบว่านับคะแนนผิดรวมคะแนนพลาด ก็ควรประกาศรับรองทันที ส่วนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนสามารถทำภายหลังได้
การเฝ้ารอคอยให้สิทธิ์เสียงของตนได้เปล่งออกมาผ่านการเลือกผู้แทนนี่เอง ทำให้ประชาชนที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ออกมาใช้สิทธิ์กันอย่างแข็งขัน เช่นที่เขตบางกะปิ มีประชาชนลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้ากว่า 6 หมื่นคน หรือเขตห้วยขวางที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเป็นพื้นที่ที่มีผู้ที่ลงทะเบียนจำนวนมากถึง 40,816 คน นับเป็นอันดับที่ 3 ของเขตเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป